การวิเคราะห์สะท้อนคิด

หลักสูตร CWIE จัดให้นักศึกษามีประสบการณ์โดยการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ โดยถือว่า “คนเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน ผ่านการวิเคราะห์สะท้อนคิด” (Learning through Reflection on Working) การวิเคราะห์สะท้อนคิดจึงเป็นกระบวนการที่จะช่วยเชื่อมโยงระหว่างความรู้เชิงทฤษฎีกับความรู้เชิงปฏิบัติให้ “รู้ชัดปฏิบัติได้” และเกิดการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องไปสู่อนาคตของการทำงานและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development)

การวิเคราะห์สะท้อนคิด (Reflective Account of Practice) เป็นส่วนหนึ่งของ CWIE ทั้งก่อน-ระหว่าง-หลัง การปฏิบัติ CWIE เพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง (Self-Assessment) เกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้จากการทำงานที่ได้จากการปฏิบัติ CWIE

การคิดวิเคราะห์สะท้อนคิดในหลักสูตร CWIE

การคิดวิเคราะห์สะท้อนคิด ในหลักสูตร CWIE

  1. การเรียนรู้วิชาการ (Academic Learning) ช่วยให้ลู่ทางการประยุกต์และการบูรณาการทฤษฎีกับการปฏิบัติ
  2. การพัฒนาทักษะ (Skill Development) ช่วยเสริมสร้างทักษะต่างๆ ทั้งด้านเทคนิควิชาชีพและการทำงานกับคน (Technical and Human Skills)
  3. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ช่วยการปฏิบัติและพัฒนาวิชาชีพตนเองต่อเนื่อง (Continuing Professional Development)

การนำเสนอบทวิเคราะห์สะท้อนคิด

โดยเขียนบันทึกการสะท้อนคิด ทั้ง ก่อน (เช่น ทำบันทึกความคาดหวัง) ระหว่าง (เช่น เป็นรายงานประจำสัปดาห์หรือสองสัปดาห์) และ หลังปฏิบัติ (เช่น ทำสรุป โดยคณาจารย์นิเทศร่วมกับผู้นิเทศจากสถานประกอบการกำหนดเนื้อหาสาระและประเด็นต่างๆ รวมทั้งรูปแบบ (Template) พร้อมกรอบและแนวทางของบทวิเคราะห์สะท้อนคิด)

  1. รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Presentation)
  2. รายงานปากเปล่า (Oral Presentation)
  3. ทั้งลายลักษณ์อักษรและปากเปล่า

อ้างอิง

วิจิตร ศรีสอ้าน. เอกสารประกอบการอบรม มิติที่ 3 ด้านกระบวนการและกิจกรรม หน่วยที่ 8วิเคราะห์สะท้อนคิด. “หลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการทำงาน รุ่นที่11”.  สมาคมสหกิจศึกษาไทย. 9-11 พ.ย. 2565.