หลักการ แนวคิด นโยบาย และกฎหมาย

ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการนำของเฮอร์แมน ชไนเดอร์ (Herman Schneider) คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยซินซินนาติ (University of Cincinnati) แห่งรัฐโอไฮโอ (Ohio) ภายใต้ชื่อ “แผนงานชินชินนาติ” ที่เสนอการแก้ปัญหาการสอนด้านความคิดรวบยอดและทักษะเกี่ยวกับวิชาชีพของนักศึกษาที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในชั้นเรียน มาเป็นการปฏิบัติงานเพื่อความเข้าใจและความชานาญ ในการดำเนินการได้แบ่งนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่ม ในแต่ละสัปดาห์นักศึกษากลุ่มหนึ่ง จะเรียนที่มหาวิทยาลัย และอีกกลุ่มหนึ่งจะไปปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมที่โรงงานท้องถิ่น ในลักษณะการจ้างงาน ผลพบว่า การสลับการเรียนกับการทำงานทำให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจในการเรียน ในชั้นเรียน เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาและเกิดทักษะใหม่ ๆ ทำให้มีความมั่นใจในการเลือกอาชีพและมีศักยภาพในการทำงาน เรียกการศึกษารูปแบบนี้ว่า “Cooperative Education”

ในประเทศไทยคำว่า “สหกิจศึกษา” (Cooperative Education) เป็นศัพท์บัญญัติที่ ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำระบบสหกิจศึกษาเข้ามาใช้ในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้บัญญัติขึ้นโดยถอดคำเป็นภาษาไทย Cooperative Education มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้จัดการศึกษาระบบไตรภาคเพื่อรองรับการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาสองครั้ง คือ ในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีภาคสหกิจศึกษาสลับกับภาคเรียนปกติ โดยนักศึกษาได้เริ่มไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538

ความหมายและความสำคัญของ CWIE แนวคิดหลักที่ทำให้เกิดรูปแบบของการดำเนินงานสหกิจศึกษาประกอบด้วย สองแนวคิดใหญ่ คือ 1) การตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ (Career Development) และการเข้าสู่ระบบการทำงานของบัณฑิต (Employability) ก่อนสำเร็จการศึกษา และ 2) การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงานและใช้ประโยชน์ ได้จริง พร้อมทำงานทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา (Ready Graduate)

เมื่อการจัด CWIE ได้รับการยอมรับกว้างขวางขึ้นทั้งระดับรัฐบาล องค์การทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชน ระบบและกระบวนการจัด CWIE ก็ขยายตัวเป็นพหุภาคีจากเดิม ซึ่งเป็นทวิภาคีระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ ทำให้เกิดการบูรณาการการศึกษากับการทำงาน (Work-Integrated Education) ที่ร่วมกันจัดระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการในลักษณะ ความร่วมมือ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายผู้จัด ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ ฝ่ายนโยบายและสนับสนุนการจัด ได้แก่ รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชน ชุมชน และสมาคมวิชาการและวิชาชีพ ดังแสดงไว้ในภาพต่อไปนี้

แนวทางการจัด CWIE ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยจึงยึดหลักการ รูปแบบ แนวทาง และกระบวนการ ดังต่อไปนี้

1) หลักการของหลักสูตร CWIE (4 Key Characteristics of CWIE) ประกอบด้วย

(1) University-Workplace Engagement เป็นความร่วมมือร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการในการผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะพร้อมสู่โลกแห่งการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานในปัจจุบันและอนาคต

(2) Co-design Curriculum เป็นการร่วมออกแบบหลักสูตรที่เน้นสมรรถนะของผู้เรียน เชื่อมโยงโลกของการศึกษากับโลกของการประกอบอาชีพ โดยการสร้างความสมดุลระหว่างวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต

(3) Competency-Based Education เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ทักษะการแก้ปัญหา โดยมีการวัดผลและประเมินระดับสมรรถนะที่เป็นระบบ

(4) Experience-Based Learning ต้องมีการปฏิบัติงานจริงและประเมินการปฏิบัติงานจริง และมีกระบวนการสร้างการเรียนรู้ในสถานประกอบการ

2) รูปแบบการจัดหลักสูตร CWIE สามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

(1) แบบแยก (Separation) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีที่สถาบันอุดมศึกษาจนครบตามกาหนด หลังจากนั้นจึงไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามระยะเวลาที่กาหนด

(2) แบบคู่ขนาน (Parallel) เป็นการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาสลับกับการไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาการเรียนในหลักสูตรนั้น ๆ

(3) แบบผสม (Mix) เป็นการเรียนภาคทฤษฎีในสถาบันอุดมศึกษาส่วนหนึ่ง และการเรียนภาคทฤษฎีพร้อมการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอีกส่วนหนึ่ง

3) แนวทางและกระบวนการจัดหลักสูตร CWIE

การจัดหลักสูตร CWIE อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน จะต้องดาเนินการตามแพลตฟอร์ม Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work-Integrated Education (CWIE): University-Workplace Engagement ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ ขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือแบบจตุภาคี (สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ดังนี้

(1) Information เป็นการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน ของนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ เกี่ยวกับแนวคิด มาตรฐาน การบริหารจัดการและประโยชน์ของ

(2) Matching เป็นการสร้างเวทีจับคู่ความร่วมมือระหว่าง Demand และ Supply โดยผ่านฐานข้อมูล CWIE ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาและค้นหาข้อมูลซึ่งกันและกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลหลักสูตร จานวนผู้เรียน สถานที่ปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน สมรรถนะที่จะร่วมผลิต ค่าตอบแทน/สวัสดิการที่ผู้เรียนจะได้รับ รวมทั้งติดตามภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางและเป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประโยชน์เชิงนโยบาย

(3) Co-designing and Implementation หัวใจสำคัญของ CWIE คือ สมรรถนะของนักศึกษา เมื่อจับคู่ความร่วมมือแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันออกแบบหลักสูตรการเรียน การสอนและผลลัพธ์ผู้เรียนในรูปของสมรรถนะและระบบบริหารจัดการ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เช่น การเตรียมความพร้อมผู้เรียนก่อนไปปฏิบัติงาน ระบบคณาจารย์นิเทศ ระบบผู้นิเทศ ในสถานประกอบการ ระบบประเมินสมรรถนะ ระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ ความปลอดภัย เป็นต้น

(4) Assessment and Development เป็นการสอบทาน การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียนหรือสมรรถนะผู้เรียน รวมทั้งระบบบริหารจัดการ ปัญหาอุปสรรค เพื่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA

(5) Outreach Activities เป็นการต่อยอดและยกระดับ CWIE เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผู้เรียน สถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ เช่น การพัฒนาอาชีพแห่งอนาคต (Career for the Future) การจัด International CWIE การยกระดับผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ การยกระดับสถานประกอบการด้วยการวิจัยเชิงลึกร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น

อ้างอิง

เอกสารประกอบการอบรม.  “หลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการทำงาน รุ่นที่11”.  สมาคมสหกิจศึกษาไทย. 9-11 พ.ย. 2565.