ระบบบริหารและการจัดการ

กรณีของประเทศไทยในช่วง พ.ศ.2536-2545 การบริหารจัดการ CWIE เป็นแบบทวิภาคี (ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว) ตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมา รัฐให้การสนับสนุนร่วมกับองค์การภาคเอกชนจึงขยายเป็น “พหุภาคี”

ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ CWIE สมบูรณ์แบบเป็น 3 ระดับ

  1. ระดับส่วนกลาง โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับดูแล CWIE ด้านนโยบาย มาตรฐาน การจัดสรรเงินอุดหนุน การส่งเสริม และการติดตามประเมินผลการจัด CWIE ถือเป็นฝ่ายอำนวยการทำหน้าที่ตามมาตรา 35 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562
  2. ระดับส่วนภูมิภาค โดยการรวมตัวของสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการของหน่วยงานของรัฐ เอกชนและชุมชนในภาคต่าง ๆ ของประเทศทำหน้าที่ประสานส่งเสริมและร่วมมือการจัด CWIE ในระดับภูมิภาคแต่ละภาค ทั้งการร่วมมือกันเองระหว่างหน่วยงานที่จัด CWIE ในภาค ระหว่างภาค และกับส่วนกลาง
  3. ระดับหน่วยงาน โดยความร่วมมือกันจัด CWIE ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับสถานประกอบการ เป็นระดับ“ปฏิบัติการ” ที่ก่อให้เกิดผลตามนโยบาย เป้าหมาย มาตรฐานและความต้องการของประเทศ

อ้างอิง

วิจิตร ศรีสอ้าน. เอกสารประกอบการอบรม มิติที่ 4 ระบบบริหารจัดการ. “หลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการทำงาน รุ่นที่11”.  สมาคมสหกิจศึกษาไทย. 9-11 พ.ย. 2565.