ในระบบการศึกษาของสาขาวิชาที่ต้องมีการปฏิบัติงานวิชาชีพตามหลักสูตร ในปฏิบัติประจำวิชาว่า “ฝึกงาน” มักจะเป็นที่นิยมเป็นส่วนใหญ่ โดยมักจะเข้าทำงานช่วงภาคการศึกษาหรือฤดูร้อนขณะที่นักศึกษาว่างจากการเรียน อย่างไรก็ตาม การจัดระบบการศึกษาสหกิจศึกษาได้ยกระดับความเข้มงวดของการปฏิบัติงานจากฝึกงานเป็นสหกิจศึกษา เนื่องจากวิธีและระบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษามีระดับความละเอียดสูงและมีผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ แม้ว่าสหกิจศึกษาและการฝึกงานมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีแตกต่างที่น่าสังเกตดังนี้
ประเด็นเปรียบเทียบ | สหกิจศึกษา | ฝึกงาน |
---|---|---|
1. การขอเข้าทำงาน | ต้องสมัครและผ่านสัมภาษณ์กับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต | ไม่ต้องสมัครและสัมภาษณ์ จะพิจารณาจากหนังสือ/จดหมายขอความอนุเคราะห์ |
2. สถานะของนักศึกษาในองค์กร | เป็นพนักงานชั่วคราวในองค์กร | อยู่ในสถานะของนักศึกษาฝึกงาน |
3. คุณสมบัติของนักศึกษา | มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป, ชั้นปี 3 หรือ 4 | ใช้หลักเกณฑ์การเป็นนักศึกษาที่ศึกษามาไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของหลักสูตร |
4. ค่าตอบแทน | ได้รับสวัสดิการหรือค่าจ้างตามความเหมาะสม | อาจได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนตามความเหมาะสม |
5. ลักษณะงาน | เน้น work-base learning ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา | ขึ้นอยู่กับองค์กร, บางครั้งไม่ตรงกับสาขาที่เรียน |
6. ระยะเวลาการปฏิบัติงาน | 16 สัปดาห์เต็มเวลา | 200 ชั่วโมงในฤดูร้อนหรือ 20-25 วันทำการ |
7. การประสานงาน | ประสานงานกับองค์กร | ประสานงานก่อนและหลังฝึกงาน |
8. การดูแลนักศึกษา | มีหัวหน้างานหรือบุคลากรที่เป็นพนักงานเต็มเวลา | มีหัวหน้างานเพื่อดูแลและสอนงาน |
9. การส่งผลการปฏิบัติงาน | ทำรายงานวิชาการ | ทำรายงานผลการปฏิบัติงาน |
10. การติดตามผลการปฏิบัติงาน | อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา | คณะกรรมการดำเนินงานฝึกออกตรวจเยี่ยมนักศึกษาฝึกงาน |
11. การประเมินผล | มีการสัมมนาและประเมิน | พิจารณาจากการประเมินงานขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตและคณะกรรมการดำเนินงาน |